Saturday, August 25, 2018

ปลูกกล้วยน้ำว้าไร้สารพิษไว้บริโภคบำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน

ปลูกกล้วยน้ำว้าไร้สารพิษไว้บริโภคบำบัดโรค 
มีสุขภาพดีและอายุยืน



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต  เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์  
กล้วยน้ำว้า ชื่ออังกฤษ Banana  ปลูกขึ้นในสวนทั่วไป หรือหลังบ้าน

       
 
 


กล้วยน้ำว้า เป็นไม้ล้มลุก ใบเป็นแผ่นยาวเส้นในใบขนานกัน ดอกเป็นช่อเรียกหัวปลี ผลเป็นหวีติดกันเป็นเครือ ต้นหนึ่งออกผลครั้งเดียวแล้วตายไป ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ หรือเมล็ด
(บางชนิด)
สรรพคุณ  ใบ  รสเย็นจืด ปิ้งไฟปิดแผลไฟไหม้ ต้มอาบแก้เม็ดผดผื่นคัน ลดความดันโลหิต
              หัวปลี  รสฝาด ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน แก้โรคโลหิตจาง
                        แก้โรคกระเพาะอาหารลำไส้
              เปลือกลูกดิบ    รสฝาด สมานแผล       
              ยาง  รสฝาด สมานแผล ห้ามเลือด
              ผลดิบ  รสฝาด แก้ท้องเสียที่ไม่รุนแรง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
              ผลสุก  รสหวาน ระบายอุจจาระ บำรุงกำลัง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
                        บำรุงร่างกาย
              ราก      รสฝาดเย็น ต้มดื่ม แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องเสีย แก้บิด
                         แก้ผื่นคัน สมานแผลภายใน
              น้ำคั้นจากหัวปลี  รสฝาด กินแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิต   
ประโยชน์และวิธีใช้  อาการท้องเสียไม่รุนแรง ใช้กล้วยน้ำว้าห่ามกินครั้งละ ½-1 ผลหรือใช้กล้วยดิบฝานเป็นแว่นตากแดด บดผงชงน้ำดื่มครั้งละ ½-1 ผลหรือปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานวันละ 4 ครั้งๆ ละ 4 เม็ด ก่อนอาหารและก่อนนอน หากรับประทานแล้วเกิดอาการท้องอืดเฟ้อ ให้ใช้ร่วมกับยาขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย
ฤทธิ์ทางพิษวิทยา ลดน้ำตาลในเลือด ต้านการบวม ทำให้อัตราการเต้นหัวใจช้าลง

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. กล้วยน้ำว้า. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 69, กรุงเทพฯ :
     โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. กล้วยน้ำว้า. สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด หน้า 59, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
3. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. กล้วยน้ำว้า. สมุนไพรลดความดันโลหิต 121 ชนิด หน้า 69-71, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552







No comments:

Post a Comment