Friday, August 24, 2018

ปลูกกระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบขาว ไร้สารพิษไว้บริโภค เพื่อบำบัดโรคมีสุขภาพดีและอายุยืน

ปลูกกระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบขาว ไร้สารพิษไว้บริโภคเพื่อบำบัดโรคมีสุขภาพดีและอายุยืน


จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์ 
กระเจี๊ยบแดง  ชื่ออังกฤษ Jamaican sorrel  ปลูกขึ้นในสวน หรือบริเวณสวนครัวหลังบ้าน



       กระเจี๊ยบแดง  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้น กิ่งก้านใบ มีสีแสดเข้ม ใบเว้าลึก 3 หยัก ดอกสีเหลือง กลางดอกสีแดง กลีบเลี้ยงสีแดงหนา รสเปรี้ยว ผลยาวปลายแหลมมีจีบตามยาว สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อนทั่วไป ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
สรรพคุณ  ใบ  รสเปรี้ยว แก้พยาธิตัวจี๊ด กัดเสมหะ แก้อักเสบ  ขับเมือกมันในลำไส้
                      ให้ลงสู่ทวารหนัก
                กลีบเลี้ยง (ดอก) รสเปรี้ยว แก้โรคนิ่วในไตในกระเพาะปัสสาวะ แก้ขัดเบา 
                       ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะเมือกมันในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
                เมล็ด รสเมา บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
                ผล     รสจืด ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะอาหารประโยชน์ และวิธีใช้  ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส  วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป
ฤทธิ์ทางพิษวิทยา ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาระบาย ลดไขมันในเส้นเลือด เพิ่มความเป็นกรดในปัสสาวะ

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช.  กระเจี๊ยบ (กระเจี๊ยบแดง). สารานุกรมสมุนไพร หน้า 69, กรุงเทพฯ
    โรงพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. กระเจี๊ยบแดง.. สมุนไพรลดความดันโลหิต 121 ชนิด หน้า 57, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข กระเจี๊ยบแดง.
    ตำราแพทย์แผน โบราณ ทั่วไปสาขาเภสัชกรรม หน้า 10, 104,  นนทบุรี 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
กระเจี๊ยบขาว (กระเจี๊ยบมอญ) ชื่ออังกฤษ Okra, Lady’s finger ปลูกขึ้นในสวน หรือหลังบ้าน




กระเจี๊ยบขาว (กระเจี๊ยบมอญ) เป็นไม้ล้มลุก ใบโตหยักลึก มีขนคลุม ดอกสีเหลืองโต ลูกกลมยาว โคนตรงปลายแหลม เป็นจีบมีขนรอบ เมื่อผลแก่จะแตกออกเห็นเมล็ดกลมสีดำ ปลูกได้ในประเทศเขตร้อนทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ
ผล รสหวานเย็น บดเป็นผง ชงน้ำร้อน หรือปั้นเป็นเม็ด รับประทาน
          รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด กัดเสมหะ แก้ไอ 
          ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก รักษาแผลในกระเพาะ อาหาร บำรุงธาตุ
          ชูกำลัง แก้ดีพิการ
เมล็ด  บำรุงธาตุ  บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ
ใบ     ไอ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก แก้เสมหะ ฟอกโลหิต

ประโยชน์ และวิธีใช้  นำผลอ่อน มาปรุงเป็นอาหารเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือทำเป็นผลแห้ง
นำมาป่นเป็นผง ชงดื่มกับน้ำ ใช้รักษาโรคเบาหวาน และแก้โรคแผลในกระเพาะได้
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ฆ่าพยาธิตัวจี๊ดได้ ฆ่าพยาธิไส้เดือน ลดน้ำตาลในเลือด
                           ลดไขมันในเลือด

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. กระเจี๊ยบมอญ. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 70, กรุงเทพฯ :
   โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. กระเจี๊ยบมอญ. สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด หน้า 47
    กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552



No comments:

Post a Comment