ปลูกกระพังโหม (ย่านพาโหม)ไร้สารพิษไว้บริโภค เพื่อบำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก,
บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.,
พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต
เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
กระพังโหม (ย่านพาโหม) ชื่ออังกฤษ (วงศ์) RUBIACEAEปลูกขึ้นในสวน หรือบริเวณหลังบ้าน
กระพังโหม (ย่านพาโหม) เป็นไม้เถาขนาดเล็ก
มีกลิ่นเหม็นเขียว เมื่อนำมาต้ม กลิ่นเหม็นจะระเหยไป นำมาทำอาหารได้ มี 2 ชนิด คือ
กระพังโหมตัวผู้ และกระพังโหมตัวเมียๆ
ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายแหลมโคนรูปหัวใจ ตัวผู้ใบเดี่ยวรูปหอกแคบเรียวเล็ก ทั้ง 2
ชนิดมีสรรพคุณเสมอกัน ใช้แทนหรือใช้ร่วมกันได้ เกิดตามที่รกร้างทั่วไป
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ
ใบ รสขม
แก้พิษงู แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด ตำพอกแก้เริม งูสวัด
แก้ปวดแสบปวดร้อน
ทำเป็นอาหาร บำรุงกำลังสำหรับคนฟื้นไข้ หรือคนชรา
ผล ทาฟันทำให้ฟันมีสีดำ แก้ปวดฟัน
ราก รสขมเย็น ฝนหยอดตา ตาฟาง แก้ตาแฉะ ตามัว
ต้มดื่มทำให้อาเจียน
ทาแก้ริดสีดวงทวาร
ทั้งต้น รสขม แก้ตานซาง แก้ตัวร้อน ขับลม แก้ธาตุพิการ
แก้ท้องเสีย เจริญอาหาร
ขับพยาธิ ไส้เดือน แก้ดีรั่ว เป็นยาอายุวัฒนะ
ต้มดื่มถอนพิษสุรา
ยาสูบ พิษจากอาหาร
ประโยชน์ และวิธีใช้ ใช้ราก
ฝนหยอดตา ตาฟาง แก้ตาแฉะ ตามัว ต้มดื่มทำให้อาเจียน
ทาแก้ริดสีดวงทวาร, ใบ ใช้ทำอาหาร บำรุงกำลังสำหรับคนฟื้นไข้ หรือคนชรา,
ผล
ใช้ทาฟันให้ฟันมีสีดำ แก้ปวดฟัน
ข้อควรระวัง ราก ต้มดื่มทำให้อาเจียน
บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. กระพังโหม. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 88, กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข กระพังโหม.
ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม
หน้า 58, นนทบุรี
No comments:
Post a Comment