Sunday, August 26, 2018

ปลูกต้นชุมเห็ดเทศ (ชุมเห็ดใหญ่) ไร้สารพิษไวับริโภค บำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน

ปลูกต้นชุมเห็ดเทศ (ชุมเห็ดใหญ่) ไร้สารพิษไวับริโภค บำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน


จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์ 
ชุมเห็ดเทศ (ชุมเห็ดใหญ่)  ชื่ออังกฤษ Ringworm bush, Golden bush ปลูกไว้ในสวนสมุนไพร

 
  


    

ชุมเห็ดเทศ (ชุมเห็ดใหญ่)  เป็นไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนก ขนาดใหญ่ ใบย่อยรูปขอบขนาน ดอกช่อสีเหลืองชูตั้ง ฝักยาวราว 4 นิ้ว เป็นจีบ เมื่อแก่จะแตกออก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เกิดตามที่ราบลุ่ม ริมน้ำทั่วไป
สรรพคุณ
       ใบ    รสเบื่อเอียน  ตำหรือขยี้ หรือบดผสมกระเทียมหรือน้ำปูนใสทาแก้กลากเกลื้อน
               โรคผิวหนังชนิดมีตัว
               ปิ้งไฟ ชงน้ำร้อนดื่ม เป็นยาระบาย และสมานธาตุ ลดความดันโลหิตสูง
               ลดน้ำตาลในเลือด
        ดอก รสเบื่อเอียน ระบายอ่อนๆ ขับพยาธิ แก้เสมหะ แก้ไข้ แก้สิว แก้หิด
               ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิตสูง
        ฝัก   รสเบื่อเอียน แก้พยาธิ ระบาย ขับพยาธิตัวจี๊ด พยาธิไส้เดือน แก้ฟกช้ำบวม
               บำรุงหัวใจ
        เมล็ด  รสเบื่อเอียน บำรุงหัวใจ ระงับประสาท,  เปลือก แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
               ยาระบาย สมานท้อง
        ต้น   รสเบื่อเอียน แก้โรคผิวหนัง ถ่ายเสมหะ ขับพยาธิในท้อง เช่น พยาธิไส้เดือน
        ต้น ราก ใบ รสเบื่อเอียน แก้กระษัยเส้น แก้ท้องผูก ขับปัสสาวะ ทำหัวใจให้ปกติ
ประโยชน์ และวิธีใช้  ใบ หรือเมล็ด, นำใบสดหรือแห้ง 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที แบ่งน้ำดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร,  ใช้ เมล็ด บดเป็นผง 1 ช้อนชา ชงกับน้ำร้อนดื่มตอนเช้า,
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาระบาย ลดการทำงานของหัวใจ ลดความดันโลหิตสูง และต้านอาการชัก ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวด ลดการอักเสบ
ขับปัสสาวะ ต้านการก่อหรือยับยั้งเนื้องอก ต้านยีสต์


บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ชุมเห็ดเทศ. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 182, กรุงเทพฯ :
    โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ชุมเห็ดเทศ. สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด หน้า 74-5, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
3. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ชุมเห็ดเทศ. สมุนไพรลดความดันโลหิต 121 ชนิด หน้า 102-3, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
4. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ชุมเห็ดเทศ. 
    ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 24, นนทบุรี




No comments:

Post a Comment