Saturday, August 25, 2018

ปลูกขิง-ข่า ไร้สารพิษไว้บริโภคบำบัดโรคมีสุขภาพดีและอายุยืน


ปลูกขิง-ข่า ไร้สารพิษไว้บริโภคบำบัดโรค
มีสุขภาพดีและอายุยืน

จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
ขิง (ขิงบ้าน) ชื่ออังกฤษ Ginger ปลูกขึ้นทั่วไปในสวน หรือหลังบ้าน


  



    ขิง  เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน ใบรูปพายกาบใบยาวหุ้มต้น ดอกเล็กๆเป็นช่อทรงกระบอกตั้งออกจากเหง้าใต้ดิน กาบสีเหลือง กลีบสีเหลืองอมเขียว ผลกลม นิยมปลูกไว้ปรุงเป็นอาหาร ทั่วประเทศ ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
สรรพคุณ  ใบ    รสเผ็ดร้อน แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา บำรุงกำลัง ฆ่าพยาธิ
             ดอก  รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้หัวใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร
                       แก้ขัดปัสสาวะ
                ผล   รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง
                       เป็นยาอายุวัฒนะ
                ต้น  รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
                เหง้า  รสหวานเผ็ดร้อน  ลดความดันโลหิตสูง ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด
                         แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอาหาร
ประโยชน์ และวิธีใช้  ใช้เหง้าขิงสด เอามาฝาน ต้มกับน้ำดื่ม หรือผงแห่งชงกับน้ำดื่ม
เหง้าขิง ใช้เป็นยารักษาอาการต่างๆ เช่น ท้องอืดท้องเฟ้อ  แน่นจุกเสียด คลื่นเหียนอาเจียนเนื่องจากธาตุไม่ปกติ เมาเรือ โดยใช้เหง้าขิงแก่ ขนาดเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ต้มน้ำดื่ม,  อาการแก้ไอ มีเสมหะ ฝนกับน้ำมะนาว หรือใช้เหง้าสดตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำและแทรกเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ขิง. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 506, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540


2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ขิง. สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด หน้า 63-4, กรุงเทพฯ:
-------------------------------------------------------------------------------------------

สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์ 
ข่า (ข่าใหญ่, ข่าตาแดง) ชื่ออังกฤษ Galangal  ปลูกขึ้นในสวน หรือบริเวณสวนครัวหลังบ้าน

 

   


ข่า  เป็นพืชล้มลุกจำพวกเหง้าๆใหญ่อวบ ใบรูปใบพายปลายแหลม ขอบเรียบมีขนเล็กน้อย ก้านในสั้น มีกาบใบหุ้มลำต้นบนดิน ดอกช่อออกที่ยอด ดอกขนากเล็ก สีขาวอมเขียวอยู่กันอย่างหลวมๆ ผลกลมรีขนาด 1 ซม. แก่จัดสีดำมีเมล็ด 2-3 เมล็ด, ข่าตาแดง เหมือนข่าทั่วไป แต่ต้นเล็กกว่าเล็กน้อย โคนต้นสีแดง หน่อออกใหม่และตาสีแดง รสและสรรพคุณแรงกว่าข่าธรรมดา เกิดตามป่าดงดิบทั่วประเทศ 
สรรพคุณ  ใบ  รสเผ็ดร้อน ฆ่าพยาธิกลากเกลื้อน ต้มอาบ แก้ปวดเมื่อยตามข้อ
               ผล รสเผ็ดร้อนฉุน ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง แก้คลื่นเหียนอาเจียน
                     แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้บิด
              หน่อ  รสเผ็ดร้อนหวาน แก้ลมแน่นหน้าอก บำรุงไฟธาตุ,   
              ดอก  รสเผ็ดร้อน แก้กลากเกลื้อน
              ต้นแก่  รสเผ็ดร้อนซ่า ตำผสมน้ำมันมะพร้าว
                        ทาแก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อตามข้อ แก้ตะคริว
              เหง้า    รสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดท้อง แน่นจุกเสียด ขับลมให้กระจาย
                         แก้ฟกบวม แก้พิษ แก้บิด แก้ตกโลหิต แก้ลมป่วง แก้กลาก เกลื้อน
                         ขับน้ำคาวปลา แก้สันนิบาติหน้าเพลิง
              ราก      รสเผ็ดร้อนปร่า ขับเลือดลมให้เดินสะดวก แก้เหน็บชา
                         แก้เสมหะและโลหิต
ประโยชน์ และวิธีใช้  ใบ ต้มอาบ แก้ปวดเมื่อยตามข้อ, ต้นแก่  ตำผสมน้ำมันมะพร้าว
ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ข้อต่อ แก้ตะคริว, เหง้า ตำกับมะขามเปียกและเกลือ
ให้สตรีหลังคลอดรับประทาน ขับรก ขับน้ำคาวปลา
  
บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ข่า. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 130, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ข่าใหญ่, ข่าตาแดง. 
    ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 75, นนทบุรี




No comments:

Post a Comment