Sunday, August 26, 2018

ปลูกช้าพลู (ชะพลู, ผักอีไร)ไร้สารพิษไว้บริโภค บำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน

ปลูกช้าพลู (ชะพลู, ผักอีไร)ไร้สารพิษ
ไว้บริโภค บำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์ 
ช้าพลู (ชะพลู, ผักอีไร)  ชื่ออังกฤษ Betel ปลูกขึ้นทั่วไปในสวน หรือสวนครัวบริเวณหลังบ้าน


 

    
 ช้าพลู (ชะพลู, ผักอีไร)  เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นข้อๆ ใบเดี่ยวรูปหัวใจคล้ายพลู ดอกช่อเหมือนดอกดีปลีแต่สั้นกว่า กลีบดอกสีขาวเล็กมาก ปลูกเป็นอาหารได้ทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ขยายพันธุ์ด้วยลำต้น ทอดนอนไปงอกเป็นต้นใหม่ หรือปักชำ 
สรรพคุณ 
        ใบ    รสเผ็ดร้อน เจริญอาหาร ขับเสมหะ ทำให้เสมหะงวด ทำให้เลือดลมซ่าน
                แก้ธาตุพิการ แก้เบาหวาน
        ดอก (ลูก) รสเผ็ดร้อน แก้เสมหะในคอ ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยย่อยอาหาร
                ขับลมในลำไส้ แก้บิด เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคหืด,   
        ต้น    รสเผ็ดร้อน แก้เสมหะในทรวงอก ขับเสมหะ แก้ท้องอืดเฟ้อ
        ราก   รสเผ็ดร้อน แก้คูถเสมหะ ขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก บำรุงธาตุ
                 ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
ประโยชน์ และวิธีใช้  ใช้ทั้งห้า 7 ต้น ล้างสะอาด ใส่น้ำพอท่วมต้มให้เดือดสักพัก นำมาดื่มแทนน้ำชาแก้เบาหวาน,   ใช้ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย เคี่ยวให้เหลือ 1 ½ ถ้วย ดื่มครั้งละ ½ ถ้วย แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
ใช้ราก ½  กำมือ  ผล 2-3 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วย ดื่มครั้งละ ¼ ถ้วย แก้บิด
ข้อควรระวัง ใบ มีสารออกซาเลต (oxalate) ค่อนข้างสูง ถ้าสะสมในร่างกายมากๆ จะทำให้เป็นนิ่วในไต ทำให้เวียนศีรษะ ควรปรุงร่วมกับอาหารเนื้อสัตว์จะช่วยให้ย่อยง่าย,  การใช้ทั้งห้า 7 ต้น รักษาเบาหวานต้องคอยตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ หลังดื่มช้าพลูทุกครั้ง เพราะช้าพลูทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก และการต้มช้าพลูทั้ง 5 ต้องเปลี่ยนช้าพลูทั้ง 5 ทุกวัน
หมายเหตุ ทั้ง 5 คือ ต้น ใบ ราก ดอก ลูกหรือฝัก


บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ช้าพลู. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 185, กรุงเทพฯ
    โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ชะพลู. สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด หน้า 75-6, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ช้าพลู. 
    ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 24, นนทบุรี







No comments:

Post a Comment