Sunday, September 23, 2018

ปลูกชาใบหม่อน ฟ้าทลายโจร พืชผักสมุนไพรไร้สารพิษไว้บริโภค สุขภาพดี มีอายุยืน

ปลูกชาใบหม่อน ฟ้าทลายโจร 
พืชผักสมุนไพรไร้สารพิษ
ไว้บริโภค สุขภาพดี มีอายุยืน


จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์  
หม่อน, ชาใบหม่อน ชื่ออังกฤษ  White Mulberry, Mulberry Tree ปลูกขึ้นในสวนสมุนไพร
   

                           

  

    

หม่อน เป็นไม้พุ่มต้นขนาดเล็ก เปลือกต้นสีเทาอ่อน มีร่องตื้น กิ่งอ่อนมีขนละเอียด ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปหยักลึกใบมนหรือรูปหัวใจ ก้านใบมีขนสั้นปกคลุม ดอกเป็นช่อแบบหางกระรอกห้อยลง ออกตามซอกกิ่งซอกก้านใบหรือปลายกิ่งก้าน ช่อดอกมีขนสั้นนุ่มปกคลุม  ผลรวมรูปไข่รีหรือทรงกระบอก ฉ่ำน้ำ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีแดงอมม่วง เมล็ดกลมเล็ก  ปลูกขึ้นในเขตร้อนและอบอุ่นทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ
สรรพคุณ 
       ยอด  ต้มดื่ม บำรุงสายตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัว,  
       ราก   ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
       ใบ    ต้มดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด แก้ไอ แก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ,  
     ใบแก่ มวนสูบ แก้ริดสีดวงจมูก
     ใบอ่อน และยอดอ่อน  ใส่ในแกง เป็นอาหารมีโปรตีน และแร่ธาตุต่างๆสูง
        ผล  บำรุงไต ดับร้อน แก้วิงเวียนหน้ามืด คนจีนใช้รักษาโรคท้องผูก บำรุงโลหิต 
              ขจัดลม, ใช้ทำน้ำผลไม้ แยม เยลลี่ เป็นต้น
        กิ่ง  ต้มดื่มช่วยทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี 
              ขจัดความร้อนในปอดและกระเพาะอาหาร 
              ใช้รักษาอาการปวดมือ เท้าเป็นตะคริว เหน็บชา
ประโยชน์และวิธีใช้ ยอดอ่อน ใบ ใบแก่ ใบอ่อน ผล กิ่ง ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการต่างๆ 
              ดังกล่าวได้
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมันในเลือด ต้านอักเสบ 
              ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย

บรรณานุกรม
1. นลินภัสร์ ศักดิ์ติยสุนทร กัลยา อนุลขณาปกรณ์ ทรงพล ชีวะพัฒน์ ประไพ วงศ์สินคงมั่น 
   ไพริน ทองคุ้ม นงนุช มณีฉาย และกาญจนา พรหมขจร. หม่อน (ชาใบหม่อน). 
    หม่อนรักษ์คุณภาพชีวิต ส่งเสริมเศรษฐกิจไทย สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
     กระทรวงสาธารณสุข หน้า 7-12, 16-21 นนทบุรี
     โรงพิมพ์ โรงพิมพ์ บริษัท พราว เพรส (2002) จำกัด 2554


หลังจากนำไปใช้ หายจากโรคดีแล้ว ให้ถวายกล้วยน้ำว้า 1 หวี ตักบาตร 3 เช้า
รักษาศีล 5 ทำสมาธิก่อนนอน อุทิศกุศลให้บิดามารดา ญาติ ผู้มีพระคุณ เจ้าของตำรับยา

ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรทุกภพทุกชาติ จะได้ตัดรากถอนโคน
--------------------------------------------------

 ฟ้าทลายโจร 

ชื่อท้องถิ่น ฟ้าทลายโจร ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ), หญ้ากันงู (สงขลา) ,ฟ้าสาง (พนัสนิคม), เขยตายแม่ยายคลุม (โพธาราม), สามสิบดี (ร้อยเอ็ด), เมฆทลาย (ยะลา), ฟ้าสะท้าน (พัทลุง) 
ชื่ออังกฤษ The Creat, Creyat, Halviva, Kariyat, Kreat

ลักษณะของพืช ฟ้าทลายโจรเป็นพืชล้มลุก สูง 1 – 2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งเล็กด้านข้างจำนวนมากใบสีเขียว ตัวใบรียาว ปลายแหลม ดอกขนาดเล็ก สีขาว มีขอบกระสีม่วงแดง ฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดในสีน้ำตาลอ่อน 




ส่วนที่ใช้  ใบ 

ช่วงเวลาที่เก็บ  เก็บในช่วงเริ่มออกดอก ใช้เวลาปลูกประมาณ 3 เดือน 

สรรพคุณ 
     ใบ รสขม บดผสมน้ำมันพืชทาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ 
     ใบสด นำมาเคี้ยวกลืนน้ำแก้คออักเสบ เจ็บคอ
     ทั้งตัน รสขม รับประทานแก้ไข้ แก้หวัด แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ปอดอักเสบ
               แก้บิด แก้ท้องเดิน ต้มกับเบญจมาศสวน ดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ 
               ลดความดันโลหิต ใช้แทนยาปฏิชีวนะได้ 
ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกินไป เนื่องจากฟ้าทลายโจรจะทำลายจุลชีพ
              ที่มีประโยชน์ในกระเพาะมากไป ผู้มีความดันโลหิตต่ำ โรคหัวใจ ไม่ควรใช้

วิธีใช้ ใบฟ้าทลายโจร  ใช้รักษาอาการท้องเสีย และอาการเจ็บคอ 

มีวิธีใช้ 3 วิธีดังนี้คือ

1.
ยาต้ม ใช้ใบฟ้าทลายโจรสด 1 – 3 กำมือ (แก้อาการเจ็บคอ ใช้เพียง 1 กำมือ) ต้มกับน้ำนาน 10 – 15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือเวลามีอาการ ยาต้มฟ้าทลายโจรมีรสขมมาก

2.
ยาลูกกลอน นำใบฟ้าทลายโจรสด ล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง (ควรผึ่งในร่มที่มีอากาศโปร่งห้ามตากแดด) บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นเมล็ดยาลูกกลอน ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผึ่งลมให้แห้ง เก็บไว้ในขวดแห้ง และมิดชิด รับประทานครั้งละ 3 – 6 เมล็ด วันละ 3 – 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน

3.
ยาดองเหล้า หรือนำใบฟ้าทะลายโจรแห้ง ขยำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ขวดแก้ว ใช้เหล้าโรง 40 ดีกรี แช่พอให้ท่วมยาเล็กน้อย ปิดฝาให้
แน่น เขย่าขวด หรือคนยาวันละ 1 ครั้ง พอครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ในขวดที่มิดชิด และสะอาด รับประทานครั้งละ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ (รสขมมาก) วันละ 3 – 4 ครั้ง ก่อนอาหาร 



1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ฟ้าทะลายโจร. คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์ หน้า 88, กรุงเทพฯ :
     บริษัทศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด 2547
2. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ฟ้าทะลายโจร. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 333, กรุงเทพฯ :
    โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ฟ้าทลายโจร.
    ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 122, นนทบุรี 
หลังจากนำไปใช้ หายจากโรคดีแล้ว ให้ถวายกล้วยน้ำว้า 1 หวี ตักบาตร 3 เช้า
รักษาศีล 5 ทำสมาธิก่อนนอน อุทิศกุศลให้บิดามารดา ญาติ ผู้มีพระคุณ เจ้าของตำรับยา

ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรทุกภพทุกชาติ จะได้ตัดรากถอนโคน





    

ปลูก มะพร้าว ไพล พลู พืชผักสมุนไพรไร้สารพิษไว้บริโภค สุขภาพดี มีอายุยืน

ปลูกมะพร้าว ไพล พลู พืชผักสมุนไพร
ไร้สารพิษไว้บริโภค สุขภาพดี มีอายุยืน






จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์ 
มะพร้าว  ชื่ออังกฤษ Coconut  ปลูกขึ้นทั่วไปในสวน หรือบริเวณหลังบ้าน
  



 มะพร้าว  เป็นไม้ยืนต้นคล้ายต้นตาล ลำต้นนกลมยาวมักตั้งตรง มีรอยเป็นปล้องถี่ๆตลอดต้น ใบประกอบใบย่อยเรียวยาว ดอกเล็กๆสีขาวนวลออกเป็นช่อ เรียก จั่นมะพร้าว ผลกลมโตมีเปลือกเป็นเส้นใยหนา เมล็ดกลมมีเปลือกแข็ง เรียก กะลา เนื้อในขาวเป็นมัน ผลออกเป็นพวง เรียก ทะลาย มีหลายพันธุ์ เช่น มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวไฟ มะพร้าวนาฬิเก เป็นต้น

สรรพคุณ  ดอก           รสฝาดหวานหอม แก้ไข้ แก้ท้องเดิน แก้ร้อนในกระหายน้ำ 
                                 บำรุงโลหิต แก้ปากเปื่อย
              น้ำมะพร้าว   รสหวาน แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น  
              ราก             รสหวานฝาดเย็น แก้ไข้ท้องเสีย แก้ไข้รากสาด แก้ไข้พิษ 
                                 ไข้สันนิบาต แก้อุจจาระพิการ
              รากอากาศ    รสฝาดเย็น แก้ไข้ แก้ไข้ท้องเสีย แก้ร้อนในกระหายน้ำ
ประโยชน์และวิธีใช้  น้ำมันมะพร้าว ทาสมานบาดแผล ทารักษาเส้นผม ผสมกับน้ำปูนใสทาแก้น้ำร้อนลวกไฟไหม้, น้ำมะพร้าวอ่อน  ใช้แก้พิษต่างๆได้ เช่น ดื่มแก้พิษสลอด ดื่มและล้างหน้าแก้พิษยาเมา ยารมที่ทำให้ง่วงนอนและสลบ ดื่มแก้พิษยาถ่ายที่ถ่ายมากเกินไป
ข้อควรระวัง น้ำมะพร้าว แสลงกับโรคปวดหลัง ไข้ทับระดู สตรีขณะมีระดู

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. มะพร้าว. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 359, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โอ.เอส. 
     พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข มะพร้าว. 
     ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป  สาขาเภสัชกรรม หน้า 41, นนทบุรี
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
ไพล ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber montanum ปลูกขึ้นทั่วไปในสวน หรือหลังบ้าน
ชื่อท้องถิ่น ปูลอย, ปูเลย (ภาคเหนือ), ว่านไฟ (ภาคกลาง), มิ้นสะล่าง (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) 
ลักษณะของพืช ไพลเป็นไม้ลงหัว มีเหง้าใหญ่ เนื้อสีเหลือง มีกลิ่นหอม ใบเรียวยาว ปลายแหลม ดอกออกรวมกันเป็นช่อ อยู่บนก้านช่อดอกที่แทงจากเหง้า 

 



ส่วนที่ใช้ เหง้าแก่จัด 
ช่วงเวลาที่เก็บ เก็บเหง้าแก่จัด หลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว 
สรรพคุณ รส   แก้ฟกบวม เคล็ดยอก ขับลม ท้องเดิน และช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี นิยมใช้เป็นยาหลังคลอดบุตร 

วิธีใช้ เหง้าไพล ใช้เป็นยารักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ โดยใช้เหง้าประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อย คลุกเคล้ากัน นำมาห่อเป็นลูกประคบอังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อย และฟกช้ำ เช้า เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้  
         ใบ    รสขื่นเอียน แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้ปวดเมื่อย
       ดอก    รสขื่น แก้ช้ำใน กระจายเลือดที่เป็นลิ่มเป็นก้อน ทำลายเลือดเสีย ขับระดู
         ต้น    รสฝาดขื่นเอียน แก้อุจจาระพิการ แก้ธาตุพิการ
        ราก    รสขื่นเอียน แก้เลือดกำเดาออกทางปากทางจมูก แก้อาเจียนเป็นโลหิต
       เหง้า     รสฝาดขื่นเอียน ขับระดู แก้เหน็บชา แก้ปวดท้อง แก้บิดมูกเลือด ขับลม
                 แก้ท้องเสีย แก้ลำไส้อักเสบ ขับเลือดร้าย แก้มุตกิดระดูขาว แก้อาเจียน
                 แก้ปวดฟัน  แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้เด็กเป็นไข้สูงตัวสั่นตาเหลือก
                 แก้เคล็ดขัดยอก ข้อเท้าแพลง แก้โรคผิวหนัง แก้ฝี ทาเคลือบแผลป้องกัน
                 การติดเชื้อ ดูดหนอง สมานแผล แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นยาชาเฉพาะที่
                 สารสกัดด้วยอีเธอร์มีผลยับยั้งเชื้อเบคทีเรียหลายชนิด


ประโยชน์และวิธีใช้  ดูข้างบนนี้

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ไพล. คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์ หน้า 559, กรุงเทพฯ :
     บริษัทศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด 2547
2. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ไพล. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 327, กรุงเทพฯ :
    โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ไพล.
    ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 121, นนทบุรี
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
พลู ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper betle  ปลูกขึ้นทั่วไปในสวน หรือหลังบ้าน
ชื่อท้องถิ่น เปล้าอ้วน ซีเก๊ะ (มลายู นราธิวาส), พลูจีน (ภาคกลาง) 
ลักษณะของพืช พลูเป็นไม้เลื้อย มีข้อ และปล้องชัดเจน ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ คล้ายใบโพธิ์ปลายใบแหลม หน้าใบมัน ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่น 

                                         

ส่วนที่ใช้ ใบสด แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปากเหม็น ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดเฟ้อ
             แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย กระตุ้นให้กระปรี้กระเปร่า ใช้ภายนอกแก้ปวดบวมฟกช้ำ
             ฆ่าเชื้อโรคหนองฝีวัณโรค แก้การอักเสบของเยื่อจมูกและคอ แก้น้ำกัดเท้า แก้คัน
             แก้ลมพิษ ลนไฟนาบท้องเด็กแก้ปวดท้อง แก้ลูกอันฑะยาน
ช่วงเวลาที่เก็บ เก็บใบช่วงสมบูรณ์เต็มที่ 
สรรพคุณ ใบสด  รสเผ็ด เป็นยาฆ่าเชื้อโรค ขับลม ตามชนบทใช้ตำกับเหล้าทาบริเวณที่เป็นลมพิษ คนแก่ใช้ทาปูนแดงรับประทานกับหมาก

วิธีใช้ ใบพลู ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ได้ผลดีกับอาการแพ้ลักษณะลมพิษโดยเอาใบ 1 – 2 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็น ห้ามใช้กับแผลเปิด จะทำให้แสบมาก
ประโยชน์และวิธีใช้  ดูข้างบนนี้

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. พลู. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 316, กรุงเทพฯ :
     โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. พลู. คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์ หน้า 556, กรุงเทพฯ :
     บริษัทศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด 2547
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พลู.
    ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป  สาขาเภสัชกรรม หน้า 120, นนทบุรี