ปลูกกระชายไร้สารพิษไว้บริโภคเพื่อบำบัดโรคมีสุขภาพดี-อายุยืน
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก,
บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.,
พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
กระชาย เป็นไม้ล้มลุก สูง 1-2 ศอก มีลำต้นใต้ดิน (เหง้า) มีรากเก็บอาหารแยกเป็นกระเปาะจากเหง้าเรียกว่า
นมกระชาย เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบใหญ่ยาวปลายแหลม ดอกเป็นช่อสีขาวชมพูม่วงอมแดง
ขยายพันธุ์โดยแยกหน่อ กระชายมี 3 ชนิด คือ
กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง โดยทั่วไปนิยมปลูกกระชายเหลือง
สรรพคุณ
เหง้า
รสเผ็ดร้อนขม แก้ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล
ขับระดูขาว แก้ปวดมวนท้อง
แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ใจสั่น
แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิดมูกเลือด รักษาลำไส้ใหญ่
อักเสบ บำรุงกำลัง
ราก
(นมกระชาย) รสเผ็ดร้อนขม แก้กามตายด้าน
ทำให้กระชุ่มกระชวย
มีสรรพคุณคล้ายโสม
ประโยชน์และวิธีใช้ นำเหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ
(สดหนัก 5-10 กรัม,
แห้งหนัก 3-5 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทาน
บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. กระชาย. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 72, กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์
2540
2. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข กระชาย.
ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม
หน้า 73,105, นนทบุรี
No comments:
Post a Comment