ปลูกขมิ้นชัน (ขมิ้นแกง)ไร้สารพิษไว้บริโภค
บำบัดโรคมีสุขภาพดีและอายุยืน
สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต
เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
ขมิ้นชัน (ขมิ้นแกง) ชื่ออังกฤษ
Turmeric,
Curcuma ปลูกขึ้นในสวน บริเวณสวนครัวหลังบ้าน
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก,
บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.,
พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
ขมิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกมีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียก เหง้าๆ
มีสีเหลืองอมส้ม เหง้าขนาดเล็ก กลิ่นฉุน ส่วนเหนือดินเป็นก้านใบหุ้มซ้อนกัน
ใบมีขนาดใหญ่ ท้องใบไม่มีขน ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว มีใบประดับสีเขียวอ่อนๆ
หรือขาวรูปหอกเรียงซ้อนกัน กลีบดอกสีเหลือง หน้าแล้งขมิ้นจะลงหัว ต้นและใบบนดินจะแห้ง
สรรพคุณ เหง้าสดหรือแห้ง รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม แก้ท้องร่วง
แผลในกระเพาะอาหาร
ประโยชน์ และวิธีใช้ ขมิ้นสด ล้างสะอาด ตำกับดินประสิวเล็กน้อย
ผสมน้ำปูนใส พอกบาดแผล และแก้เคล็ดขัดยอก, เผาไฟ ตำกับน้ำปูนใส รับประทาน แก้ท้องร่วง
แก้บิด, ผงขมิ้น นำผงมาเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด, น้ำคั้นเหง้าสด ทาแก้แผลถลอก
แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ลดอาการอักเสบ ทำให้ผิวหนังผุดผ่องทำยาอัดเม็ด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอ่อนแอ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง
แก้บิด, ทำยาลูกกลอน ใช้ขมิ้นสดล้างสะอาด (ไม่ปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบางๆ
ตากแดดจัด 1-2 วัน บดละเอียดผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ดเท่าปลายนิ้วก้อยผึ่งลมให้แห้งใส่ขวดสะอาดปิด
กินวันละ 4 ครั้งๆละ 2-3 เม็ด หลังอาหาร-ก่อนนอน, แคปซูล ผงแห้งบรรจุแคปซูล (250 มก.)
กินวันละ 4 ครั้งๆละ 2 เม็ด หลังอาหาร-ก่อนนอน
ข้อควรระวัง บางคนรับประทานขมิ้นแล้วอาจมีอาการแพ้ขมิ้น เช่น คลื่นไส้
ท้องเสีย ปวดหัว เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าว
ให้หยุดรับประทานและเปลี่ยนไปใช้สมุนไพรชนิดอื่นแทน
บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ขมิ้นชัน. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 124, กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ขมิ้นชัน (ขมิ้นแกง).
ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 74, นนทบุรี
ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 74, นนทบุรี
3. สถาบันการแพทย์แผนไทย. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข
ขมิ้นชัน, การแพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพ
หน้า 43-4 นนทบุรี:
โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552
โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552
No comments:
Post a Comment