Saturday, August 25, 2018

ปลูกกะทือ ไร้สารพิษไว้บริโภค บำบัดโรคมีสุขภาพดีและอายุยืน

ปลูกกะทือ ไร้สารพิษไว้บริโภค บำบัดโรค
มีสุขภาพดีและอายุยืน


จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A., ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
กะทือ (กระทือ, กระทือบ้าน, กระทือป่า,) ชื่ออังกฤษ Wild ginger ปลูกขึ้นในสวน /หลังบ้าน

 



          
   

กะทือ  เป็นไม้ล้มลุกประเภทเหง้า ใบออกซ้อนกันเป็นแผง ใบเรียวยาว สีเขียวแก่ ดอกช่อออกจากเหง้าใต้ดิน กลีบเลี้ยงสีแดงปนเขียว กะทือป่ามีฤทธิ์แรงกว่ากะทือบ้าน 
สรรพคุณ รวมเหมือนกัน เกิดตามป่าดงดิบชื้นทั่วไป
ขยายพันธุ์โดยแยกเหง้า
สรรพคุณ  ใบ     รสขมขื่นเล็กน้อย ขับเลือดเน่าในมดลูก ขับน้ำคาวปลา
              ดอก   รสขมขื่น แก้ไข้เรื้อรัง ไข้ตัวเย็น ไข้จับสั่น แก้ผอมเหลือง
             เกสร  รสเฝื่อนปร่า แก้ลม บำรุงธาตุ
              ต้น     รสขมขื่น  เจริญอาหาร
              ราก    รสขมขื่นเล็กน้อย แก้ไข้ตัวเย็น
              เหง้า   รสขมขื่นปร่า บำรุงน้ำนมให้บริบูรณ์ แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด
                       ขับผายลม ขับปัสสาวะ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้แน่นหน้าอก
                       ขับน้ำย่อยให้ลงสู่ลำไส้ แก้จุกเสียด
ประโยชน์ และวิธีใช้  หัวกะทือ เป็นยารักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
และปวดท้อง โดยใช้หัวหรือเหง้าสดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก
ตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ 
หัวหรือเหง้าแก่สด   รสขมและขื่นเล็กน้อย ขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. กระทือ. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 82, กรุงเทพฯ :
      โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2.  กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข กะทือ.
     ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 74, 104-5 นนทบุรี



No comments:

Post a Comment