ปลูกตำลึง (ผักแคบ, ผักสี่บาท) ไร้สารพิษ ไว้บริโภค บำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก,
บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.,
พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต
เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
ตำลึง (ผักแคบ, ผักสี่บาท) ชื่ออังกฤษ
Ivy gourd ปลูกขึ้นทั่วไปในสวน หรือสวนครัวหลังบ้าน
สรรพคุณ
ใบ
รสเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
แก้ไข้ตัวร้อน ดับพิษฝี ถอนพิษของตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน
ดอก
รสเย็น แก้คัน, เมล็ด รสเย็นเมา
ตำผสมน้ำมันมะพร้าว ทาแก้หิด
เถา รสเย็น แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา
ดับพิษ แก้อักเสบ, ชงน้ำดื่ม แก้เวียนศีรษะ
ราก รสเย็น ดับพิษทั้งปวง แก้ตาฝ้า ลดไข้ แก้อาเจียน
หัว
รสเย็น ดับพิษทั้งปวง, น้ำยาง, ต้น, ใบ, ราก รสเย็น
แก้โรคเบาหวาน
ประโยชน์และวิธีใช้ ใบสด ใช้รักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย เช่น
ยุงกัด
ถูกตัวบุ้ง ใบตำแย แพ้ละอองข้าว โดยใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ (ตามอาการ)
ล้างสะอาดตำละเอียดผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่มีอาการ
พอน้ำแห้งให้ทาซ้ำบ่อยๆจนหาย,
ใบแก่ มีสรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ได้มากกว่าใบอ่อน โดยนำใบแก่มา 1 ถ้วย ปั่นกับน้ำเย็น 2 ถ้วย กรองเอาแต่น้ำดื่มเย็นๆ
หรือนำใบแก่มาปรุงเป็นอาหาร, ใช้น้ำจากเถาหยอดตา
แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ, ชงกับน้ำดื่ม
แก้เวียนศีรษะ,
บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ตำลึง. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 220, กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ตำลึง. สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด หน้า 82-3, กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตำลึง.
ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 64,113, นนทบุรี
ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 64,113, นนทบุรี
No comments:
Post a Comment