Sunday, August 26, 2018

ปลูกต้นทองพันชั่งไร้สารพิษ ไว้บริโภค บำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน

ปลูกต้นทองพันชั่งไร้สารพิษ ไว้บริโภค 
บำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์ 
ทองพันชั่ง  ชื่ออังกฤษ (วงศ์) ACANTHACEAE  ปลูกในสวนสมุนไพรหลังบ้าน



  
   ทองพันชั่ง  ไม้พุ่มเล็ก สูงประมาณ 1 เมตร ใบเดี่ยวรูปรีปลายและโคนแหลมบาง ขอบเรียบสีเขียวอ่อน ดอกช่อเล็กสีขาวเหมือนนกกระยางจะบิน ฝักกลมยาว เกิดตามป่าโปร่ง ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือปักชำ
สรรพคุณ  
     ใบ  รสเมาเบื่อ ขับปัสสาวะ แก้ปวดฝี ดับพิษไข้ ยาระบาย แก้ผื่นคัน
           แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไอเป็นเลือด ฆ่าพยาธิ แก้มะเร็ง แก้ผมร่วง ลดความดันโลหิตสูง
     ต้น รสเมาเบื่อ รักษาความดันโลหิตสูง, 
    ทั้งห้า รสเมาเบื่อ แก้โรคผิวหนัง และริดสีดวงทวาร
     ราก  รสเมาเบื่อ แก้พิษไข้ แก้โรคมะเร็ง เรื้อน วัณโรค แก้ผมหงอก เนื่องจากเชื้อรา
            เป็นรังแค รักษาโรคผิวหนัง ชนิดกลากกเกลื้อน ผื่นคัน ขับปัสสาวะ
            ดับพิษไข้ แก้พิษลม
ประโยชน์ และวิธีใช้ ใช้ราก ต้มน้ำดื่ม แก้พิษไข้ แก้โรคมะเร็ง  เรื้อน วัณโรค,
ใช้ร่วมกับพญามือเหล็ก แช่แอลกอฮอล์ ทาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน,
ต้มกับน้ำสระผมแก้ผมหงอก ผมร่วงเป็นรังแค, นำส่วนของต้นและใบ มา 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที แบ่งดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านไวรัส ลดความดันโลหิต
ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ขับลม ยับยั้งเบาหวาน  เป็นยาระบาย ลดไข้
ข้อควรระวัง ห้ามใช้กับคนที่เป็นโรคโลหิตจาง เป็นโรคหัวใจ โรคหืด โรคความดันโลหิตต่ำ โรคมะเร็งในเม็ดโลหิต


บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ทองพันชั่ง. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 230, กรุงเทพฯ :
    โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ทองพันชั่ง. สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด หน้า 90-91, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ทองพันชั่ง.
    ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 29, นนทบุรี





ปลูกเตยหอม ไร้สารพิษไว้บริโภคบำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน

ปลูกเตยหอม ไร้สารพิษไว้บริโภคบำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน



 จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์  )
เตยหอม  ชื่ออังกฤษ (วงศ์) PANDANACEAE  ปลูกในสวนสมุนไพร  หรือสวนครัวหลังบ้าน


 
    


เตยหอม เป็นไม้จำพวกต้น ใบขนานเรียวยาว ขอบเรียบผิวมัน ปลายแหลมสีเขียวเข้มงอกจากต้นลำกลมเป็นข้อถี่ๆ ขึ้นตามที่ลุ่มน้ำขัง ใบมีกลิ่นหอม มีรากอากาศออกจากข้อ ปลูกไว้ใช้ทั่วไปตามบ้าน ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ
สรรพคุณ 
      ใบ             รสเย็นหอม บำรุงหัวใจ ดับพิษไข้ ชูกำลัง
      รากและต้น รสจืดหอม แก้กระษัยไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้ไข้มีพิษร้อน
                       แก้พิษตานซาง แก้ร้อนในกระหายน้ำ
ประโยชน์และวิธีใช้  ใช้รากเตยหอม 1 กำมือ ต้มน้ำดื่มเช้า-เย็น ช่วยให้ร่างกายสดชื่น
กระปรี้กระเปร่า, รักษาเบาหวาน ใช้รากประมาณ 90-120 กรัม ต้มน้ำดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น, ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้ราก ครึ่งกำมือ หรือต้น 1 ต้น ต้มกับน้ำดื่ม, ใช้ใบสด ช่วยบำรุงหัวใจ โดยนำใบมาตำให้ละเอียด ผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 2- 4 ช้อน
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. เตยหอม. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 217, กรุงเทพฯ :
    โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. เตยหอม. สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด หน้า 83-4, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เตยหอม.
    ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 28, นนทบุรี




ปลูกถั่วพู, ทับทิม ไร้สารพิษ ไว้บริโภคบำบัดโรค มีสุขภาพดี และอายุยืน

ปลูกถั่วพู, ทับทิม ไร้สารพิษ ไว้บริโภคบำบัดโรค มีสุขภาพดี และอายุยืน



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์  
ถั่วพู  ชื่ออังกฤษ Four-angled bean, Goa bean ปลูกขึ้นทั่วไปในสวน หรือสวนครัวหลังบ้าน


    



ถั่วพู  เป็นไม้เถาเลื้อย ใบประกอบ ใบย่อยทรงรูปไข่กว้างเบี้ยว ปลายแหลม 3 ใบ ดอกช่อ สีม่วงอ่อน ฝักทรงสี่เหลี่ยม
มีครีบตามยาวริมจัก นิยมปลูกเป็นอาหาร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ 
        ใบ    รสมัน  ช่วยย่อยอาหาร พวกกรดไขมันอิ่มตัว
        ฝัก    รสมันเย็น  แก้ร้อนในให้หอบ บำรุงกำลัง
        ราก    รสขมขื่นเล็กน้อย  แก้ปวดมวนท้อง
        หัว     รสมันเย็นชุ่มขมขื่น  บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ทำให้ดวงจิตแช่มชื่น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ
ประโยชน์ และวิธีใช้ ฝักสด ใช้เป็นอาหารรับประทานกับน้ำพริก เป็นต้น เพื่อบำรุงกำลัง

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ถั่วพู. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 223, กรุงเทพฯ
    โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540

-------------------------------------------------------------------------------------------
                              
สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์

ทับทิม  ชื่ออังกฤษ Pomegranate ปลูกขึ้นทั่วไปในสวน หรือหน้าบ้าน

   


 

   
ทับทิม เป็นไม้พุ่ม กิ่งก้านมีหนาม ใบเดี่ยวรูปหอก ดอกช่อกลีบสีขาวหรือส้มแดง กลีบเลี้ยงสีส้ม ผลกลมแป้น มีกลีบเลี้ยงดอกติดที่ปลาย เมล็ดสีแดง สีขาว สีชมพู นิยมใช้ชนิดดอกขาวทำยา ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือกิ่งตอน
สรรพคุณ 
   ใบ    รสฝาด แก้ท้องร่วงได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แก้บิดมูกเลือด ปิดธาตุ สมานแผล
   ดอก  รสฝาดหวาน ต้มดื่มแก้โรคหูชั้นในอักเสบ บดโรยแผลที่มีเลือดออก
   เปลือกลูก  รส ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ปิดธาตุ ต้มเอาน้ำชะบาดแผล
                 สมานแผล  ถ่ายพยาธิ ฆ่าเชื้อโรคบาดแผล ฝนกับน้ำปูนใส
                 หรือโรยแผลเน่าเปื่อยพุพอง
   เนื้อหุ้มเมล็ด  รสหวานอมเปรี้ยว ระบายอ่อน บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นใจ ลดความดันโลหิต
   เปลือกราก  รสเมาเบื่อ  ต้มดื่มแก้ระดูขาว แก้ตกเลือด ถ่ายพยาธิ,
   ทั้งห้า  แก้ท้องเสีย บิด มูกเลือด   (ทั้งห้าของทับทิม คือ ต้น ใบ ราก ดอก ลูก)
ประโยชน์ และวิธีใช้  เปลือกลูก ใช้เป็นยาแก้ท้องเดินและบิด, แก้อาการท้องเดิน ใช้เปลือกลูกแห้ง 1 ใน 4 ของลูกฝนกับน้ำฝนหรือน้ำปูนใสแล้วดื่มน้ำต้มก็ได้,  แก้อาการบิด (มีอาการปวดเบ่งและมีมูก หรืออาจมีเลือดด้วย) ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิม ครั้งละ 1 กำมือ (3-5 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลู หรืออบเชยแต่งกลิ่นให้น่าดื่มก็ได้, น้ำทับทิม  คั้นจากผลทับทิมดื่มวันละ 50 ซีซี. ลดความดันโลหิต  
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา  ลดความดันโลหิต ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา แก้ท้องเสีย ลดน้ำตาลในเลือด ขับพยาธิ

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ทับทิม. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 232, กรุงเทพฯ
   โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ทับทิม. สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด หน้า 88-9, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
3. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ทับทิม. สมุนไพรลดความดันโลหิต 121 ชนิด หน้า 115-6, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
4.  กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ทับทิม. 
     ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 28, 115-6, นนทบุรี






ปลูกตำลึง (ผักแคบ, ผักสี่บาท) ไร้สารพิษ ไว้บริโภค บำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน

ปลูกตำลึง (ผักแคบ, ผักสี่บาท) ไร้สารพิษ ไว้บริโภค บำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์  
ตำลึง (ผักแคบ, ผักสี่บาท)  ชื่ออังกฤษ Ivy gourd ปลูกขึ้นทั่วไปในสวน หรือสวนครัวหลังบ้าน



    
 ตำลึง (ผักแคบ, ผักสี่บาท)   เป็นไม้เถาขนาดกลาง มือเกาะเดี่ยว ใบเดี่ยวรูปหัวใจเว้าเล็กน้อย สีเขียวเข้ม ดอกเดี่ยวสีขาว ผลกลมเหมือนแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก สีเขียวลายขาว เมื่อสุกสีแสดแดง ปลูกเป็นผักขึ้นตามรั้ว ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ 
        ใบ     รสเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ดับพิษฝี ถอนพิษของตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน          
        ดอก   รสเย็น แก้คัน,  เมล็ด รสเย็นเมา ตำผสมน้ำมันมะพร้าว ทาแก้หิด
        เถา    รสเย็น แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ, ชงน้ำดื่ม แก้เวียนศีรษะ
        ราก   รสเย็น ดับพิษทั้งปวง แก้ตาฝ้า ลดไข้ แก้อาเจียน
        หัว    รสเย็น ดับพิษทั้งปวง,    น้ำยาง, ต้น, ใบ, ราก  รสเย็น  แก้โรคเบาหวาน
ประโยชน์และวิธีใช้  ใบสด ใช้รักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ยุงกัด
ถูกตัวบุ้ง ใบตำแย แพ้ละอองข้าว โดยใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ (ตามอาการ) ล้างสะอาดตำละเอียดผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งให้ทาซ้ำบ่อยๆจนหาย,
ใบแก่ มีสรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ได้มากกว่าใบอ่อน โดยนำใบแก่มา 1 ถ้วย ปั่นกับน้ำเย็น 2 ถ้วย กรองเอาแต่น้ำดื่มเย็นๆ หรือนำใบแก่มาปรุงเป็นอาหาร,  ใช้น้ำจากเถาหยอดตา แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ, ชงกับน้ำดื่ม แก้เวียนศีรษะ,

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ตำลึง. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 220, กรุงเทพฯ :
    โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ตำลึง. สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด หน้า 82-3, กรุงเทพฯ:
   โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตำลึง. 
    ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป  สาขาเภสัชกรรม หน้า 64,113, นนทบุรี