Saturday, August 25, 2018

ปลูกต้นขี้เหล็กบ้านไร้สารพิษไว้บริโภคเพื่อบำบัดโรคมีสุขภาพดีและอายุยืน

ปลูกต้นขี้เหล็กบ้านไร้สารพิษไว้บริโภค
เพื่อบำบัดโรคมีสุขภาพดีและอายุยืน



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


 สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติสุชาติ ภูวรัตน์   
ขี้เหล็กบ้าน ชื่ออังกฤษ Thai copper pod, Siamese cassia ปลูกในสวน หรือใกล้บ้าน




        ขี้เหล็กบ้าน  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ใบประกอบแบบขนนกออกเรียงตรงกันข้าม ใบย่อยรูปไข่มนขนาดเล็ก ดอกช่อสีเหลือง ฝักแบนยาว เมื่อแก่จัดแตกออกได้ เกิดตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด       
สรรพคุณ 
       ใบ  รสขม แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ
             ถ่ายพรรดึก บำรุงโลหิต
        ดอก  รสขม แก้หืด แก้โรคประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้รังแค, 
        เปลือกฝัก รสขมเฝื่อน  แก้เส้นเอ็นตึง
        ฝัก  รสขม แก้ไข้,   ทั้งห้า  รสขม  แก้พิษเสมหะ ถ่ายเส้น แก้พิษทั้งปวง
        เปลือกต้น รสขม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร,   
        กระพี้ รสขม แก้ร้อนรุ่ม กระสับกระส่ายเพราะพิษไข้
        แก่น รสขม แก้กามโรค หนองใน แก้กระษัย แก้เหน็บชา แก้ไฟธาตุพิการ, 
        ราก รสขมเย็น แก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ
ประโยชน์และวิธีใช้  ส่วนที่ใช้ ใบอ่อน ดอก และแก่น, ใช้ดอก ฟอกศีรษะแก้รังแค,  ดอกสด 1 กำมือ ต้มน้ำ 3 ถ้วย นาน 5 นาที นำมาดื่มเช้า-เย็น, ใบแห้ง หนัก 30 กรัม ใบสดหนัก 50 กรัม ต้มน้ำดื่มเช้า-เย็น,  ใบสด ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม, ใช้ใบอ่อนและแก่ 4-5 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วม ต้มเดือดประมาณครึ่งชั่วโมง
ใช้ดื่มก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนและดอกตูมปรุงเป็นอาหาร
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ขี้เหล็ก. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 138, กรุงเทพฯ
    โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ขี้เหล็ก. สมุนไพรลดความดันโลหิต 121 ชนิด หน้า 85-6, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ขี้เหล็ก
  . ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 15-6, นนทบุรี
4.  สถาบันการแพทย์แผนไทย. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
    ขี้เหล็ก, การแพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพ หน้า 54, นนทบุรี
    โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552





No comments:

Post a Comment