ปลูกเตยหอม ไร้สารพิษไว้บริโภคบำบัดโรค มีสุขภาพดีและอายุยืน
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก,
บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.,
พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต
เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์ )
เตยหอม ชื่ออังกฤษ (วงศ์) PANDANACEAE ปลูกในสวนสมุนไพร
หรือสวนครัวหลังบ้าน
เตยหอม เป็นไม้จำพวกต้น ใบขนานเรียวยาว ขอบเรียบผิวมัน ปลายแหลมสีเขียวเข้มงอกจากต้นลำกลมเป็นข้อถี่ๆ
ขึ้นตามที่ลุ่มน้ำขัง ใบมีกลิ่นหอม มีรากอากาศออกจากข้อ ปลูกไว้ใช้ทั่วไปตามบ้าน
ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ
สรรพคุณ
ใบ รสเย็นหอม บำรุงหัวใจ ดับพิษไข้ ชูกำลัง
รากและต้น รสจืดหอม แก้กระษัยไตพิการ
ขับปัสสาวะ แก้ไข้มีพิษร้อน
แก้พิษตานซาง แก้ร้อนในกระหายน้ำ
ประโยชน์และวิธีใช้ ใช้รากเตยหอม 1 กำมือ ต้มน้ำดื่มเช้า-เย็น
ช่วยให้ร่างกายสดชื่น
กระปรี้กระเปร่า, รักษาเบาหวาน ใช้รากประมาณ 90-120 กรัม ต้มน้ำดื่มวันละ 2
ครั้ง เช้า-เย็น, ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้ราก
ครึ่งกำมือ หรือต้น 1 ต้น ต้มกับน้ำดื่ม, ใช้ใบสด ช่วยบำรุงหัวใจ โดยนำใบมาตำให้ละเอียด ผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำ
ดื่มครั้งละ 2- 4 ช้อน
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ
บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. เตยหอม. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 217, กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์
2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. เตยหอม. สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด หน้า 83-4,
กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง
กรุ๊ป จำกัด 2552
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เตยหอม.
ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม
หน้า 28, นนทบุรี
No comments:
Post a Comment