ปลูกชาใบหม่อน ฟ้าทลายโจร
พืชผักสมุนไพรไร้สารพิษ
พืชผักสมุนไพรไร้สารพิษ
ไว้บริโภค สุขภาพดี มีอายุยืน
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก,
บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.,
พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต
เรียบเรียงโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
หม่อน, ชาใบหม่อน ชื่ออังกฤษ White Mulberry, Mulberry
Tree ปลูกขึ้นในสวนสมุนไพร
หม่อน เป็นไม้พุ่มต้นขนาดเล็ก เปลือกต้นสีเทาอ่อน
มีร่องตื้น กิ่งอ่อนมีขนละเอียด ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปหยักลึกใบมนหรือรูปหัวใจ
ก้านใบมีขนสั้นปกคลุม ดอกเป็นช่อแบบหางกระรอกห้อยลง
ออกตามซอกกิ่งซอกก้านใบหรือปลายกิ่งก้าน ช่อดอกมีขนสั้นนุ่มปกคลุม ผลรวมรูปไข่รีหรือทรงกระบอก ฉ่ำน้ำ ผลอ่อนสีเขียว
เมื่อสุกสีแดงอมม่วง เมล็ดกลมเล็ก
ปลูกขึ้นในเขตร้อนและอบอุ่นทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ
สรรพคุณ
ยอด ต้มดื่ม บำรุงสายตา
แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัว,
ราก
ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
ใบ ต้มดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน
แก้หวัด แก้ไอ แก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ,
ใบแก่
มวนสูบ แก้ริดสีดวงจมูก
ใบอ่อน และยอดอ่อน ใส่ในแกง เป็นอาหารมีโปรตีน และแร่ธาตุต่างๆสูง
ผล บำรุงไต ดับร้อน แก้วิงเวียนหน้ามืด
คนจีนใช้รักษาโรคท้องผูก บำรุงโลหิต
ขจัดลม, ใช้ทำน้ำผลไม้ แยม เยลลี่ เป็นต้น
กิ่ง ต้มดื่มช่วยทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก
ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี
ขจัดความร้อนในปอดและกระเพาะอาหาร
ใช้รักษาอาการปวดมือ เท้าเป็นตะคริว เหน็บชา
ประโยชน์และวิธีใช้ ยอดอ่อน ใบ ใบแก่ ใบอ่อน ผล กิ่ง ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการต่างๆ
ดังกล่าวได้
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมันในเลือด ต้านอักเสบ
ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย
บรรณานุกรม
1. นลินภัสร์ ศักดิ์ติยสุนทร กัลยา อนุลขณาปกรณ์ ทรงพล ชีวะพัฒน์ ประไพ
วงศ์สินคงมั่น
ไพริน ทองคุ้ม นงนุช มณีฉาย และกาญจนา
พรหมขจร. หม่อน (ชาใบหม่อน).
หม่อนรักษ์คุณภาพชีวิต ส่งเสริมเศรษฐกิจไทย สถาบันวิจัยสมุนไพร
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข หน้า 7-12, 16-21 นนทบุรี:
โรงพิมพ์ โรงพิมพ์ บริษัท พราว เพรส (2002) จำกัด 2554
โรงพิมพ์ โรงพิมพ์ บริษัท พราว เพรส (2002) จำกัด 2554
หลังจากนำไปใช้ หายจากโรคดีแล้ว
ให้ถวายกล้วยน้ำว้า 1 หวี ตักบาตร 3 เช้า
รักษาศีล 5 ทำสมาธิก่อนนอน อุทิศกุศลให้บิดามารดา
ญาติ ผู้มีพระคุณ เจ้าของตำรับยา
ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรทุกภพทุกชาติ
จะได้ตัดรากถอนโคน
--------------------------------------------------
ฟ้าทลายโจร
ลักษณะของพืช ฟ้าทลายโจรเป็นพืชล้มลุก สูง 1 – 2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งเล็กด้านข้างจำนวนมากใบสีเขียว ตัวใบรียาว ปลายแหลม ดอกขนาดเล็ก สีขาว มีขอบกระสีม่วงแดง ฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดในสีน้ำตาลอ่อน
ส่วนที่ใช้ ใบ
ช่วงเวลาที่เก็บ เก็บในช่วงเริ่มออกดอก ใช้เวลาปลูกประมาณ 3 เดือน
สรรพคุณ
วิธีใช้ ใบฟ้าทลายโจร ใช้รักษาอาการท้องเสีย และอาการเจ็บคอ
มีวิธีใช้ 3 วิธีดังนี้คือ
1. ยาต้ม ใช้ใบฟ้าทลายโจรสด 1 – 3 กำมือ (แก้อาการเจ็บคอ ใช้เพียง 1 กำมือ) ต้มกับน้ำนาน 10 – 15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือเวลามีอาการ ยาต้มฟ้าทลายโจรมีรสขมมาก
2. ยาลูกกลอน นำใบฟ้าทลายโจรสด ล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง (ควรผึ่งในร่มที่มีอากาศโปร่งห้ามตากแดด) บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นเมล็ดยาลูกกลอน ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผึ่งลมให้แห้ง เก็บไว้ในขวดแห้ง และมิดชิด รับประทานครั้งละ 3 – 6 เมล็ด วันละ 3 – 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน
3. ยาดองเหล้า หรือนำใบฟ้าทะลายโจรแห้ง ขยำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ขวดแก้ว ใช้เหล้าโรง 40 ดีกรี แช่พอให้ท่วมยาเล็กน้อย ปิดฝาให้
แน่น เขย่าขวด หรือคนยาวันละ 1 ครั้ง พอครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ในขวดที่มิดชิด และสะอาด รับประทานครั้งละ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ (รสขมมาก) วันละ 3 – 4 ครั้ง ก่อนอาหาร
ฟ้าทลายโจร
ชื่อท้องถิ่น ฟ้าทลายโจร ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ), หญ้ากันงู (สงขลา) ,ฟ้าสาง (พนัสนิคม), เขยตายแม่ยายคลุม (โพธาราม), สามสิบดี (ร้อยเอ็ด), เมฆทลาย (ยะลา), ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
ชื่ออังกฤษ The Creat, Creyat, Halviva, Kariyat, Kreat
ลักษณะของพืช ฟ้าทลายโจรเป็นพืชล้มลุก สูง 1 – 2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งเล็กด้านข้างจำนวนมากใบสีเขียว ตัวใบรียาว ปลายแหลม ดอกขนาดเล็ก สีขาว มีขอบกระสีม่วงแดง ฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดในสีน้ำตาลอ่อน
ส่วนที่ใช้ ใบ
ช่วงเวลาที่เก็บ เก็บในช่วงเริ่มออกดอก ใช้เวลาปลูกประมาณ 3 เดือน
สรรพคุณ
ใบ รสขม บดผสมน้ำมันพืชทาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้
ใบสด นำมาเคี้ยวกลืนน้ำแก้คออักเสบ เจ็บคอ
ทั้งตัน รสขม รับประทานแก้ไข้ แก้หวัด แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ปอดอักเสบ
แก้บิด แก้ท้องเดิน ต้มกับเบญจมาศสวน ดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ
ลดความดันโลหิต ใช้แทนยาปฏิชีวนะได้
แก้บิด แก้ท้องเดิน ต้มกับเบญจมาศสวน ดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ
ลดความดันโลหิต ใช้แทนยาปฏิชีวนะได้
ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกินไป เนื่องจากฟ้าทลายโจรจะทำลายจุลชีพ
ที่มีประโยชน์ในกระเพาะมากไป ผู้มีความดันโลหิตต่ำ โรคหัวใจ ไม่ควรใช้
ที่มีประโยชน์ในกระเพาะมากไป ผู้มีความดันโลหิตต่ำ โรคหัวใจ ไม่ควรใช้
วิธีใช้ ใบฟ้าทลายโจร ใช้รักษาอาการท้องเสีย และอาการเจ็บคอ
มีวิธีใช้ 3 วิธีดังนี้คือ
1. ยาต้ม ใช้ใบฟ้าทลายโจรสด 1 – 3 กำมือ (แก้อาการเจ็บคอ ใช้เพียง 1 กำมือ) ต้มกับน้ำนาน 10 – 15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือเวลามีอาการ ยาต้มฟ้าทลายโจรมีรสขมมาก
2. ยาลูกกลอน นำใบฟ้าทลายโจรสด ล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง (ควรผึ่งในร่มที่มีอากาศโปร่งห้ามตากแดด) บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นเมล็ดยาลูกกลอน ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผึ่งลมให้แห้ง เก็บไว้ในขวดแห้ง และมิดชิด รับประทานครั้งละ 3 – 6 เมล็ด วันละ 3 – 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน
3. ยาดองเหล้า หรือนำใบฟ้าทะลายโจรแห้ง ขยำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ขวดแก้ว ใช้เหล้าโรง 40 ดีกรี แช่พอให้ท่วมยาเล็กน้อย ปิดฝาให้
แน่น เขย่าขวด หรือคนยาวันละ 1 ครั้ง พอครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ในขวดที่มิดชิด และสะอาด รับประทานครั้งละ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ (รสขมมาก) วันละ 3 – 4 ครั้ง ก่อนอาหาร
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ฟ้าทะลายโจร. คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์ หน้า 88, กรุงเทพฯ :
บริษัทศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด 2547
2. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ฟ้าทะลายโจร. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 333, กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ฟ้าทลายโจร.
ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 122, นนทบุรี
หลังจากนำไปใช้ หายจากโรคดีแล้ว
ให้ถวายกล้วยน้ำว้า 1 หวี ตักบาตร 3 เช้า
รักษาศีล 5 ทำสมาธิก่อนนอน อุทิศกุศลให้บิดามารดา
ญาติ ผู้มีพระคุณ เจ้าของตำรับยา
ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรทุกภพทุกชาติ
จะได้ตัดรากถอนโคน
No comments:
Post a Comment