Sunday, September 23, 2018

ปลูกกระถินไทย (สะตอเบา) ดีปลี พืชผักสมุนไพรไร้สารพิษไว้บริโภค สุขภาพดี มีอายุยืน

ปลูกกระถินไทย (สะตอเบา) ดีปลี
พืชผักสมุนไพรไร้สารพิษ 
ไว้บริโภค สุขภาพดี มีอายุยืน


จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
กระถินไทย (กระถิน, สะตอเบา) ชื่ออังกฤษ Wild Tamarind ปลูกขึ้นทั่วไปในสวนหลังบ้าน

 

 
   
กระถินไทย  เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ใบประกอบแบบขนนก ดอกเล็กๆอัดแน่นเป็นกระจุกกลม เกสรเป็นพู่สีขาว ฝักแบบยาว เมล็ดรูปไข่แบน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ทั่วประเทศไทย
สรรพคุณ
            เมล็ด     ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม ลดน้ำตาลและไขมันในเลือด
            ดอก        รสมัน บำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา
            ราก         รสจืดเฝื่อน ขับผายลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ
ประโยชน์และวิธีใช้  ใช้ดอก ราก เมล็ด, นำเมล็ดกระถินไทยตากแห้งบดเป็นผง 
หรือคั่วกินเป็นอาหาร โดยปกตินิยมใช้ยอดและฝักอ่อนจิ้มน้ำพริกรับประทานเป็นอาหาร
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ฤทธิ์คุมกำเนิด เป็นพิษต่อต่อมธัยรอยด์ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ ยับยั้งการเจริญเติบโต ทำให้หัวใจเต้นช้า บำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต 
ลดน้ำตาลในเลือด ลด cholesterol
ข้อควรระวัง ใบกิ่งก้านอุดมด้วยไนโตรเจนและเกลือโพแทสเซียม ทำปุ๋ยหมักได้ดี 
ทุกส่วนทั้งต้น ทำให้เกิดพิษแก่สัตว์เลี้ยง เช่น ม้า สุกร กระต่าย เป็ด ไก่ เป็นต้น 
ทำให้ขนร่วง เมื่อหยุดกินขนจะงอกใหม่   

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. กระถิน (กระถินไทย). สารานุกรมสมุนไพร หน้า 78, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
     โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์  2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. กระถิน (กระถินไทย, สะตอเบา). สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด
     หน้า 49 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
3. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. กระถิน (กระถินไทย, สะตอเบา). สมุนไพรลดความดันโลหิต 121 ชนิด
    หน้า 62-3,  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
4. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข กระถินไทย.
    ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 11, นนทบุรี 
--------------------------------------------------------
ดีปลี
ชื่อท้องถิ่น ดีปลีเชือก (ภาคใต้), ประดงข้อ, ปานนุ (ภาคกลาง)
ชื่ออังกฤษ Indian Long Pepper. Java Long Pepper

ลักษณะของพืช ดีปลีไม้เลื้อย ใบรูปไข่ โคนมนปลายแหลม เป็นใบเดี่ยว คล้ายใบย่านางแต่ผิวใบมันกว่า และบางกว่าเล็กน้อย ดอกไม้เป็นรูปทรงกระลอกปลายมน เมื่อแก่กลายเป็นผลสีแดง



ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่แห้ง (หมอยาเรียก ดอกดีปลี)

ช่วงเวลาที่เก็บ ช่วงที่ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก ตากแดดให้แห้ง

สรรพคุณ  
      ใบ   รสเผ็ดร้อน แก้เส้นสุมนา (ศูนย์กลางท้อง)
      ผล  (ดอกดีปลี) รสเผ็ดร้อนขม แก้ปถวีธาตุพิการ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืด                    ไอ แก้ลมวิงเวียน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้คุดทะราด เจริญอาหาร แก้หลอดลม
             อักเสบ แก้โรคนอนไม่หลับ โรคลมบ้าหมู ขับน้ำดี (ในกรณีท่อน้ำดีอุดตัน) ชับระดู                ทำให้แท้ง ขับพยาธิ ใช้ภายนอก (แก้ปวดกล้ามเนื้อ รักษาอาการอักเสบ) 
             บำรุงธาตุ ขับลม แก้จุกเสียด
      เถา รสเผ็ดร้อน แก้เสมหะพิการ แก้ปวดฟัน  แก้ปวดท้อง แก้ลมวิงเวียน แก้จุกเสียด 
             แก้ริดสีดวงทวาร แก้ลม เจริญอาหาร ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ 
     ราก  รสเผ็ดร้อนขม แก้เส้นอัมพฤกษ์อัมพาต ดับพิษปัตคาต แก้หืด ไอ แก้ลมวิงเวียน 
             แก้เสมหะ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ

สารสำคัญ ผล ให้น้ำมันหอมระเหย 0.7 % มีแอลคาลอยด์ Piperine, Piplartine และ
                        Liquid alkaloid อีก 2 ชนิด ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำลาย และทำให้ชา
                 ราก ทำให้ลิ้นชา มี Piplartine และแอลคาลอยด์สีเหลืองอีกเล็กน้อย

วิธีใช้ ผลแก่แห้งของดีปลี ใช้เป็นยารักษาอาการ ดังนี้

1. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดจากธาตุไม่ปกติโดยใช้ผลแก่แห้ง 1 กำมือ (ประมาณ 10 – 15 ดอก) ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีดอกใช้เถาต้มแทนได้

2. อาการไอ และขับเสมหะ ใช้ผลแก่แห้ง ประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือ
กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ


บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ดีปลี. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 193, กรุงเทพฯ โรงพิมพ์
     โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์  2540
4. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ดีปลี.
    ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 112, นนทบุรี 




No comments:

Post a Comment