Sunday, September 23, 2018

ปลูกมะม่วงหิมพานต์ พลับพลึง พืชผักสมุนไพรไร้สารพิษไว้บริโภค สุขภาพดี มีอายุยืน

ปลูกมะม่วงหิมพานต์ พลับพลึงพืชผักสมุนไพร

ไร้สารพิษไว้บริโภค สุขภาพดี มีอายุยืน



 

จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย นายสุชาติ ภูวรัตน์

มะม่วงหิมพานต์ (กายี่) ชื่ออังกฤษ Cashaw Nut ปลูกในภูเก็ต มีโรงงานทำน้ำคั้นขายที่ท่าเรือ
 


  

     

มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ทรงพุ่มกิ่งก้านแตกออกด้านข้าง ใบเดี่ยว ดอกช่อ ผลรูป ระฆังคล้ายชมพู่ มีเมล็ดเหมือนเมล็ดถั่วโตๆ ติดอยู่ที่ปลายผล 1 เมล็ด เนื้อในเมล็ดรสเมามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปลูกได้ในเขตร้อน
 สรรพคุณ
               ผล         รสฝาด  พอกดับพิษ
            เมล็ด       รสเมามัน  บำรุงเส้นเอ็น  แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน บำรุงกระดูก 
                            บำรุงกำลัง บำรุงผิวหนัง
            เปลือกต้น รสฝาด  แก้บิด ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย
          ยอดอ่อน  รสฝาด รักษาริดสีดวงทวาร
                ยาง      รสร้อนเมา กัดทำลายเนื้อด้านเป็นตุ่มโต ใช้แต้มหัวหูด และตาปลา

ประโยชน์ทางและวิธีใช้  นำเปลือกต้น 4 – 5 ชิ้น ต้มน้ำดื่ม เช้า - เย็น
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าพยาธิ ลดน้ำตาลในเลือด 
                           แก้ปวด ลดความดันโลหิตสูง

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. มะม่วงหิมพานต์. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 363, กรุงเทพฯ
     โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์  2540
----------------------------------------------------------------------------------------------------------


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต    เรียบเรียงโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
พลับพลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum asiaticum  ปลูกขึ้นทั่วไปในสวน หรือหลังบ้าน
พลับพลึง พืชล้มลุก มีหัวใต้ดิน ใบเดี่ยวกว้างยาว ปลายก้านช่อออกดอก
พลับพลึงแดง กลีบสีชมพูขาว หลังสีแดง
พลับพลึงขาว กลีบสีขาว มีกลิ่นหอม

      

สรรพคุณ  
         ใบ    รสเอียน ต้มดื่มทำให้อาเจียนเป็นเสมหะ ย่างหรือลนไฟให้ตายนึ่ง
                 ใช้ประคบแก้ฟกช้ำดำเขียวและเคล็ดยอก หรือพันตามอวัยวะที่เคล็ดยอก
                 บวมแพลง ถอนพิษได้ดี
     เมล็ด    รสเฝื่อน ขับปัสสาวะ บำรุงร่างกาย ระบายท้อง ขับระดู
       หัว      รสขม ระบายท้อง ขับเสมหะ แก้น้ำดีพิการ
      ราก      รสเฝื่อน เคี้ยวกลืนน้ำทำให้อาเจียน ตำพอกบาดแผล แก้พิษยางน่อง

ประโยชน์และวิธีใช้  ได้ระบุไว้ข้างบนนี้

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. พลับพลึง. คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์ หน้า 555-6, กรุงเทพฯ :
     บริษัทศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด 2547
2. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. พลับพลึงสารานุกรมสมุนไพร หน้า 316, กรุงเทพฯ :
    โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
3. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พลับพลึง.
    ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 36, นนทบุรี 


No comments:

Post a Comment